วิธีติดตั้ง แผ่นครอบข้าง ครอบจั่ว

วิธีการติดตั้งแผ่นครอบข้าง

1.เริ่มติดตั้งแผ่นครอบข้างจากปลายแผ่นก่อน โดยยึดสกรูทุกระยะ 50 ซม.

2.ยึดสกรูแผ่นปิดครอบด้านมุม กับแป ทุกระยะ 50 ซม.

3.วางแผ่นที่ 2 ซ้อนทับกับแผ่นแรก โดยต้องวางซ้อนโดยระยะซ้อนทับ อย่างต่ำ  10 ซม.

4.ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ

5.ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ

วิธีการติดตั้งแผ่นครอบจั่ว

1.ถ้าต้องการพับหัวแผ่นขึ้น ให้พับหัวแผ่นหลังคาขึ้นทั้งสองด้าน ด้วยเครื่องมือหรือคีมดัดเหล็ก

2.ติดตั้งแผ่นครอบจั่วแผ่นแรก โดยวางตำแหน่งให้ได้แนวระดับ

3.ใช้กรรไกรตัดเหล็ก บากด้านข้างแผ่นปิดครอบให้ได้รูปรอยตัด ตามสันลอนหลังคา

4.ยึดสกรูบริเวณสันลอน เว้น สันลอน

ข้อแนะนำในการติดตั้งแผ่นปิดครอบ

1.ทำความสะอาดแผ่นบริเวณที่จะซีลซิลิโคนให้สะอาดทั้ง 2 ส่วนแผ่นที่จะซ้อนทับกัน

2.ซีลซิลิโคนตามแนวซ้อนทับให้ทั่ว ทั้งแผ่นด้านล่างและแผ่นด้านบน

3.ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ

วิธีติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีท

1.วางแผ่นหลังคาแผ่นแรกโดยให้ลอนตัวผู้ ติดอยู่ติดหน้าจั่วพร้อมเช็คปลายแผ่นลังคาให้ยื่นไปในแนวรางน้ำอย่างเหมาะสม

2.ให้ยึดสกรูทุกๆสันลอนบริเวณแปปลาย และแปเดี่ยว ส่วนแปกลาง ยึดสันลอนเว้นสันลอน

3.วางแผ่นหลังคาแผ่นที่ 2 โดยให้ลอนตัวผู้ซ้อนทับลอนตัวเมียของแผ่นแรก

4.ใช้คีมหนีบบริเวณซ้อนทับแผ่น เพื่อความแน่นหนาในการยึดสกรู ทั้งหัวแผ่นและปลายแผ่น

5.ทำการยึดสกรูบริเวณซ้อนทับกันทุกสันลอน

6.ควรเช็คแนวระดับ ทุกๆการติดตั้งแผ่นหลังคาไปได้ประมาณ 10 แผ่น

 

ความแตกต่างการมุงหลังคา ด้วย แผ่นเมทัลชีท กับ แผ่นกระเบื้องลอนคู่

ข้อแตกต่างระหว่างการมุงหลังคาด้วย แผ่นเมทัลชีท กับ แผ่นกระเบื้องลอนคู่ แบบไหนจะดีกว่ากัน ทนทานกว่ากัน และแบบไหนจะมีราคาถูกกว่ากัน เราลองมาวิเคราะห์ดูครับ
ในสมัยก่อนเมื่อเรานึกถึงการมุงหลังคา เราก็จะนึกถึงแผ่นหลังคากระเบื้องลอนคู่ ขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ เพราะเนื่องจากเป็นแผ่นหลังคาที่ได้รับความนิยมสูง และราคาถูก และมีสีสันให้เลือกใช้งานมากมาย
แต่ในยุคปัจจุบัน มีวัสดุที่สามารถนำมาใช้มุงเป็นหลังคาได้มากมายหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น หลังคาเมทัลชีท หลังคาไวนิล หลังคาโพลีคาร์บอเนต แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ก็คือ หลังคาเมทัลชีท เนื่องจากหลังคาเมทัลชีท มีคุณสมบัติโดดเด่น ต่างจากแผ่นหลังคาชนิดอื่น ในเรื่องของ ราคา น้ำหนัก สีสัน ความสวยงามด้านการออกแบบ และความทนทาน

ความแตกต่าง การมุงหลังคาด้วย แผ่นเมทัลชีท กับ แผ่นกระเบื้องลอนคู่

ในด้านของการออกแบบ และความสวยงาม ถ้าเปรียบเทียบในเรื่องของการออกแบบและความสวยงามแล้ว แผ่นหลังคาเมทัลชีท มีหลากหลายลอน และสามารถสั่งความยาวได้ตามความต้องการ ตัด และ ดัดโค้ง ดีไซด์ได้หลากหลายแบบ ซึ่งจะแตกต่างจากหลังคากระเบื่อง โดยสิ้นเชิง เนื่องจากแผ่นหลังคากระเบื้อง ต้องสั่งซื้อมาเป็นแผ่นๆขนาดเท่าๆกัน และนำมาปูแบบ ทับซ้อนกัน ไม่สามารถดัดโค้งได้

โครงสร้างเหล็กสำหรับมุงหลังคาเมทัลชีท

ในเรื่องของน้ำหนัก และโครงสร้าง เรื่องนี้ก็เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้ แผ่นเมทัลชีท เข้ามาแทนที่ แผ่นกระเบื้องลอนคู่ เนื่องจากแผ่นเมทัลชีท มีน้ำหนักเบากว่าแผ่นกระเบื้องลอนคู่ อยู่มาก ในเมื่อมีน้ำหนักที่เบากว่า ก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้างได้มากกว่า  จึงทำให้เจ้าของบ้าน หรือ เจ้าของงาน ประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย

มุงแผ่นหลังคาเมทัลชีท ไร้รอยต่อ

ความยากง่ายในการมุง การมุงหลังคาด้วย แผ่นเมทัลชีท จะมีความง่ายและ รวดเร็วกว่า แผ่นกระเบื้องลอนคู่ อยู่มาก เนื่องจากในขันตอนการผลิต แผ่นเมทัลชีท จะสามารถสั่งแผ่นยาวตามที่ต้องการได้เลย ซึ่งในขั้นตอนของการมุง จะทำให้ การทับซ้อนของแผ่นมีน้อย จึงทำให้การทำงานง่ายขึ้นมากเลยทีเดียว

การมุงแผ่นหลังคาด้วยระบบคลิ๊ปล็อค ไร้การยิงสกรู

เรื่องการรั่วซึม เรื่องนี้หลังคาเมทัลชีท ชนะขาด เพราะว่า หลังคาเมทัลชีท รอยต่อแผ่นน้อย หรือ ไม่มีเลย จึงทำให้โอกาสรั่วซึมน้อยมาก และในลอนหลังคาบางชนิด ยังติดตั้งด้วยระบบคลิ๊ปล็อค ซึ่งหลีกเลี่ยงการยิงสกรู จึงทำให้ไม่มีโอกาสรั่วซึมได้เลย

แผ่นกระเบื้องเก่าร้าว รั่วซึม แตกหักได้ง่ายมาก

อายุการใช้งานและความทนทาน อายุการใช้งานหลังคากระเบื้องลอนคู่ จะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า ในกรณีที่ ไม่มีสิ่งของตกใส่ หรือ คนขึ้นไปเหยียบ ซึ่งอาจจะแตกได้ง่าย ในส่วนของหลังคาเมทัลชีท อายุการใช้งานจะขึ้นอยู่ กับสภาพสิ่งแวดล้อม เช่นถ้าอยู่แถวบริเวณริมทะเล หลังคาเมทัลชีท ก็จะผุกร่อนได้ง่ายกว่า บริเวณที่ไม่มีน้ำทะเล และ อายุการใช้งาน ยังขึ้นอยู่กับความหนา และชนิดของชั้นเคลือบอีกด้วย

แผ่นหลังคาเมทัลชีท แบบมีฉนวนกันความร้อน PU

การป้องกันความร้อน ถ้าเปรียบเทียบกัน แผ่นหลังคาเมทัลชีท กับ แผ่นกระเบื้องลอนคู่ ในขณะที่ไม่ได้ติดตั้งฉนวนกันความร้อน แผ่นกระเบื้องลอนคู่จะป้องกันความร้อนได้มากกว่าแผ่นเมทัลชีท เนื่องจากแผ่นกระเบื้องลอนคู่ จะเก็บความร้อนไว้ที่ตัวกระเบื้อง ส่วนแผ่นเมทัลชีท จะใช้การสะท้อนความร้อน แต่ในปัจจุบันมีฉนวนกันความร้อนหลากหลายชนิดเข้ามาช่วยป้องกันความร้อน เช่น ฉนวน PE , ฉนวน PU ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี

หลังคาเมทัลชีทแบบ ติดตั้งฉนวนกันความร้อน PU กันร้อน กันเสียงฝนตก

เสียงเวลาฝนตก ในเวลาฝนตก แผ่นหลังคาเมทัลชีทจะมีเสียงดัง มากกว่าแผ่นหลังคากระเบื้องลอนคู่ แต่สามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนช่วยดูดซับเสียงได้

หลังคาเมทัลชีท ทำสโลปน้อย

การทำสโลป แผ่นหลังคากระเบื้องจะต้องทำสโลปไม่น้อยกว่า 15 องศา ถ้าทำสโลปน้อยกว่าจะทำให้เกิดปัญหาน้ำไหลย้อน ในส่วนของหลังคาเมทัลชีท สามารถทำสโลปได้ที่ 5 องศา ทำให้การออกแบบ ดีไซด์ ได้หลากหลาย

ราคา ถ้าคิดเฉพาะแผ่นหลังคาในตารางเมตรที่เท่ากันแล้ว แผ่นหลังคากระเบื้องลอนคู่จะมีราคาถูกกว่า แผ่นหลังคาเมทัลชีท แต่ถ้าคำนึงถึงโครงสร้าง และ ค่าแรงติดตั้งแล้วรวมๆแล้วจะมีราคาพอๆกัน เพราะเนื่องจากแผ่นหลังคาเมทัลชีท น้ำหนักเบาทำให้ประหยัดโครงสร้าง และติดตั้งง่าย

สรุป หลังคาเมทัลชีท กับ หลังคากระเบื้องลอนคู่ มีข้อดี และ ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และการเลือกใช้งาน
 

 

PU FOAM คืออะไร

PU FOAM ย่อมาจาก Polyurethane Foam หรือ ในภาษาไทยเรียกว่า โพลียูรีเทน โฟม ซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีมากที่สุด ในปัจจุบัน เมื่อเทียบคุณสมบัติกับฉนวนกันความร้อนชนิดอื่นๆ

PU FOAM เป็นฉนวนกันความร้อนในตระกูลโพลิเมอร์ ถูกผลิตออกมาในรูปแบบน้ำยาเคมีเหลว สามารถนำไปฉีดบริเวณพื้นผิวที่ต้องการได้ โดยใช้เครื่องจักรที่ออกแบบมาสำหรับงานพ้น PU FOAM โดยเฉพาะ

คุณสมบัติของ PU FOAM

1. PU FOAM สามารถป้องกันความร้อน-เย็น ได้

2. PU FOAM สามารถลดเสียงดัง ป้องกันเสียง เข้า-ออก ได้

3. PU FOAM ทนทานต่อกรด และ ด่าง

4. PU FOAM ไม่ลามไฟ

5. PU FOAM มีน้ำหนักเบา

6. PU FOAM มีความแข็งแรง ทนทาน

7. PU FOAM ไม่อุ้มน้ำ ไม่ซึมน้ำ

8. PU FOAM ไม่เป็นอาหารของสัตว์

9. PU FOAM สามารถยึดเกาะได้ทุกพื้นผิว

10. PU FOAM ไม่มีสารพิษเจือปน ปลอดภัยกับผู้บริโภค

 

PE POAM คืออะไร

ฉนวนกันความรัอน PE FOAM คือ อะไร วันนี้เราจะพามารู้จักกับ ฉนวนกันความร้อน PE FOAM
ฉนวนกันความร้อน PE FOAM ผลิตมาจาก โพลีเอทิลีน (Poly Etylene) ซึ่งมีลักษณะเป็นโฟม และห่อหุ้มด้วยฟอยล์ทั้งสองข้าง จึงทำให้ ฉนวนกันความร้อน PE FOAM มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน และสะท้อนความร้อน และยังสามารถดูดซับเสียงได้อีกด้วย

วิธีติดตั้งฉนวนกันความร้อน PE FOAM เข้ากับ แผ่นหลังคาเมทัลชีท จะมีอยู่ 2 วิธี ด้วยกัน คือ

ติดตั้งด้วยมือ การติดฉนวนกันความร้อนด้วยมือ จะมีวิธีการดังนี้

  • ฉนวนกันความรั้อนที่จะนำมาติดตั้งร่วมกับ แผ่นหลังคาเมทัลชีท นััน จะมาเป็นม้วนใหญ่ๆ ซึ่งต้องนำ มันตัดให้ได้ตามขนาด ของแผ่นหลังคาเมทัลชีท
ม้วน PE FOAM
  • นำฉนวนกันความร้อนที่ตัดแล้ว มาพ่นกาว
พ่นกาวบนฉนวนกันความร้อน
กาวสำหรับติดฉนวนกันความร้อน
กาวที่ถูกพ่น ลงบน แผ่นฉนวนกันความร้อน PE

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  •  พ่นกาวลงบน แผ่นหลังคาเมทัลชีท

  • นำฉนวนกันความร้อน และ แผ่นหลังคาเมทัลชีท ที่พ้น กาวแล้ว มาประกบกัน

  • รีดฉนวนกันความร้อน เข้ากับแผ่นหลังคาเมทัลชีท ให้เรียบ

  •  ใช้คัตเตอร์กรีด ฉนวนกันความร้อนที่เกินออก

รอกาวแห้ง เสร็จแล้วครับ ขั้นตอนการติดฉนวนกันความร้อน ด้วยมือ ต่อไป จะพาไปดูการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ด้วยเครื่อง

การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ด้วยเครื่องนั้น เริ่มจาก

  • ตัดแผ่นหลังคาเมทัลชีท ที่ต้องการจะติดฉนวนกันความร้อน PE แล้วนำไปเข้าเครื่อง ติดฉนวนกันความร้อน

  • เมื่อแผ่นหลังคาเมทัลชีท เข้าไปในเครื่องแล้ว เครื่องก็จะรีดฉนวนกันความร้อนให้โดย อัตโนมัติ

เสร็จแล้วครับ การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อนด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีขั้นตอน และ ความยุ่งยาก น้อยกว่า การติดตั้งด้วยมือ แล้ว การติดตั้งด้วยเครื่องจักร ยังมีความทนทาน และสวยงาม มากกว่า

11 ข้อดีของ หลังคาเมทัลชีท

11 ข้อดีของ หลังคาเมทัลชีท

1.หลังคาเมทัลชีท มีความทนทาน แข็งแรงไม่แตกหักง่าย ไม่เป็นสนิม อายุการใช้งานยาวนาน

ตารางแสดงความหนาเหล็ก บลูสโคป และการรับประกันสินค้า

2.หลังคาเมทัลชีท มีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดโครงสร้าง และติดตั้งได้ง่าย

รูปแสดงตัวอย่าง โครงสร้างเหล็กสำหรับงาน หลังคาเมทัลชีท

3.หลังคาเมทัลชีท สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายซึ่งนอกจากจะใช้มุงหลังคาแล้ว ยังสามารถนำมาทำ ผนัง, แผ่นฝ้า, ล้อมรั้ว, แผ่นบานเกล็ด และ พื้น ได้

รูปตัวอย่างการนำ หลังคาเมทัลชีท มาทำผนัง

 

4.หลังคาเมทัลชีท มีหลากหลายสีสันให้เลือกใช้งาน

รูปภาพแสดงตัวอย่าง หลังคาเมทัลชีท สีไม้

5.หลังคาเมทัลชีท สามารถ ออกแบบได้หลากหลาย เช่น แผ่นตรง แผ่นโค้ง

รูปแสดงตัวอย่างการติดตั้ง หลังคาเมทัลชีท แผ่นโค้ง แผ่นตรง และ แผ่นบานเกล็ด

6.หลังคาเมทัลชีท สามารถ สั่งที่ความยาวเท่าไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการขนส่งด้วยว่าทำได้หรื่อไม่ ซึ่งถ้าในกรณีที่ต้องการแผ่นยาวมากๆ และรถไม่สามารถขนส่งได้ สามารถยกเครื่องจักรไปรีดแผ่น หลังคาเมทัลชีท ที่ไซด์งานได้เลย

รูปแสดงตัวอย่าง งานรีดแผ่น หลังคาเมทัลชีท หน้าไซด์งาน

7.หลังคาเมทัลชีท มี 2 ระบบในการติดตั้ง คือ ระบบยิงสกรู และ ระบบคลิปล็อค ซึ่งถ้าเลือกใช้งานใน ระบบคลิปล็อค จะไม่มีการยิงสกรู ลงที่แผ่น หลังคาเมทัลชีท แต่จะใช้ คลิปล็อค ในการยึด แผ่นหลังคาเมทัลชีท กับ แปร เหล็กแทน จึงทำให้มันใจได้เลยว่า ไม่มีการรั่วซึม ร้อยเปอร์เซ็น

รูปตัวอย่างงานติดตั้ง หลังคาเมทัลชีท ระบบคลิปล็อค ซึ่งจะเห็นได้มาไม่มีการยิงสกรู

8.หลังคาเมทัลชีท มีหลากหลาย รูปลอน ให้เลือกใช้งาน เพื่อให้เหมาะสมกับหน้างานต่างๆ เช่น หลังคาเมทัลชีท ลอนสเปน จะเหมาะสมกับหน้างาน หลังคาทรงจั่ว, หลังคา ศาลาวัด, หลังคาทรงไทย

รูปแสดงตัวอย่าง งานติดตั้ง หลังคาเมทัลชีท ลอนสเปน

9.หลังคาเมทัลชีท สามารถติดตั้งในพื้นที่ลาดชันต่ำได้ โดยที่ไม่รั่วซึ่ม ซึ่งสามารถติดตั้งในความลาดชันต่ำได้ถึง 2-5 องศา

รูปแสดงตัวอย่าง งานติดตั้ง หลังคาเมทัลชีท ในพื้นที่ ที่ความลาดชันน้อย

10.หลังคาเมทัลชีท สามารถ มุงซ้อนทับแผ่นหลังคาเก่าที่รั่วซึ่มได้เลย

รูปแสดงตัวอย่าง งานติดตั้งหลังคาเมทัลชีท ซ้อนทับหลังคาเก่าที่รั่วซึม

11.หลังคาเมทัลชีท เหมาะสมกับงานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เป็นอย่างมาก เพราะมีความแข็งแรงทนทาน ที่สามารถรับน้ำหนักแผ่นโซล่าเซลล์ ได้สบาย และในเรื่องของตัวยึดขา Support ที่ออกแบบ มาให้เข้ากับ หลังคาเมทัลชีท เป็นอย่างมาก

รูปแสดงตัวอย่าง งานติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ บน หลังคาเมทัลชีท

แผ่นเมทัลชีท ใช้ทำอะไรได้บ้าง

แผ่นเมทัลชีท ใช้ทำอะไรได้บ้าง

            เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะรู้จักกับ แผ่นเมทัลชีท แล้วซึ่งส่วนใหญ่จะนำ แผ่นเมทัลชีท มามุงหลังคา แล้วรู้หรือไม่ว่า แผ่นเมทัลชีท นั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ อย่างอื่นได้อีกมากมาย ซึ่งนอกจากจะใช้มุงหลังคาแล้ว ยังสามารถ

นำ แผ่นเมทัลชีท มาย้ำโค้ง

ซึ่งการนำ แผ่นเมทัลชีท มาย้ำโค้งนั้นเพื่อให้เกิด ส่วนโค้งบริเวณปลายแผ่น นำมาใช้เป็นกันสาด หรือหลังคารูปโค้ง

รูปแสดงตัวอย่างแผ่นหลังคาเมทัลชีท โค้งปลาย

 

นำ แผ่นเมทัลชีท มาล้อมรั้ว

แผ่นเมทัลชีท ที่นำมาล้อมทำรั้วนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แผ่นไม่หนามาก ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณ และลักษณะของหน้างาน เช่น ถ้านำ แผ่นเมทัลชีท ไปใช้ล้อมรั้วชั่วคราว ตามไซด์งานก่อสร้าง ก็จะใช้ แผ่นเมทัลชีท แบบไม่หนามาก เกรดบี ซึ่งจะมีราคาถูก

รูปตัวอย่าง(จากต่างประเทศ) การใช้งาน แผ่นเมทัลชีท ล้อมทำรั้ว

นำ แผ่นเมทัลชีท มาทำผนัง (Panel rib)

ลักษณะรูปลอนของ แผ่นเมทัลชีท ที่จะนำมาใช้ทำผนังนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบ แต่ที่ได้รับความนิยม จะใช้แผ่นเมทัลชีทที่มีสันลอนไม่สูง หรือที่เรียกว่า ลอนผนัง

รูปตัวอย่าง แผ่นเมทัลชีท สำหรับงาน ฝ้า หรือ ผนัง

นำ แผ่นเมทัลชีท มาทำ แผ่นฝ้า เพดาน (Spandrel)

แผ่นเมทัลชีท ที่นำมาทำเป็น แผ่นฝ้า  นั้น ที่ได้รับความนิยม จะมีอยู่ 2 รูปลอน คือ 1.นำลอนผนัง มาทำเป็น แผ่นฝ้า  2.ใช้แผ่นเมทัลชีท ลอน แผ่นฝ้าโดยเฉพาะ ซึ่งการนำ แผ่นเมทัลชีท มาทำเป็น แผ่นฝ้า  นั้น มีให้เห็นตามปั๊มน้ำมัน ต่างๆ

นำ แผ่นเมทัลชีท มาทำเป็น แผ่นบานเกล็ด (Lover)

แผ่นเมทัลชีท ที่จะนำมาทำเป็น แผ่นบานเกล็ด ได้นั้น จะต้องนำเอา แผ่นเมทัลชีท แผ่นเรียบ ไปพับขึ้นรูป ตามโปรไฟล์ของแผ่นบานเกล็ดที่ได้ออกแบบไว้

รูปตัวอย่าง การนำ แผ่นเมทัลชีท มาทำบานเกล็ด

นำ แผ่นเมทัลชีท มาทำเป็น พื้น (Metal deck)

แผ่นเมทัลชีท ทำนำมาทำเป็น พื้น นั้นจะต้องเป็น รูปลอนเฉพาะ ถึงจะนำมาทำเป็นพื้นได้

รูปโปรไฟล์ แผ่นเมทัลชีท สำหรับงานพื้น

จะเห็นได้ว่า แผ่นเมทัลชีท สามารถนำมาทำประโยชน์ ในด้านต่างๆ ได้หลากหลาย แล้ว แผ่นเมทัลชีท ยังมีความ แข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน และ ก็ยังมีความสวยงามอีกด้วย